วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ศิลปะตะวันออก


ศิลปะอินเดีย

      
       ประเทศ อินเดียได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากต่างประเทศ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่หนึ่ง ประมาณ 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช อิทธิ พลจากประเทศเมโสโปเตเมียได้แพร่เข้ามาในลุ่มแม่น้ำสินธุจนถึงประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อชาว อารยันได้บุกรุกอินเดียและทำลายอารยธรรมดั้งเดิม ครั้งที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 3 ได้รับอิทธิพลศิลปะจาก อิหร่านและกรีก ครั้งที่สามพุทธศตวรรษที่ 6 ได้รับอิทธิพลของกรีกและโรมันเข้ามามีบทบาทต่อศิลปอินเดียและ ครั้งที่สี่พุทธศตวรรษที่ 16 กลุ่มมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้รุกรานอินเดียและพุทธศตวรรษที่ 21 ราชวงศ์ โมกุลเข้าครอบครองอินเดียศิลปะอินเดียระยะต่อมาก็ได้รับอิทธิพลของอิหร่าน อินเดียเป็นประเทศที่มีศาสนาหลายศาสนา ศาสนาดั้งเดิม คือ ศาสนาพระเวท ซึ่งต่อมาก็กลายเป็น ศาสนาพราหมณ์ และในช่วงต้นพุทธศักราชได้เกิดศาสนาไชนะ และพุทธศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาที่รุ่ง เรืองในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศตวรรษที่ 6 พุทธศาสนาได้เกิดลัทธิขึ้นใหม่คือ ลัทธิมหายาน ซึ่ง ได้รับเอาความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปน พุทธศตวรรษที่ 10 ศาสนาพรามหณ์ ได้ปรับปรุงเพื่อ ต่อต้านพุทธศาสนาลัทธิมหายาน จึงเป็นศาสนาฮินดู ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลัทธิใหญ่ คือ ไศวนิกายซึ่งนับถือ พระศิวะ หรือพระอิศวรเป็นใหญ่ และไวษณพนิกายซึ่งนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ ต่อมาพุทธศาสนาก็ เกิดลัทธิตันตระ ก่อนที่ชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16  ศาตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแบ่งศิลปะอินเดียออกเป็น 2 สมัยโดยกว้างคือ สมัย ก่อนอินเดีย และศิลปะอินเดีย


สมัยก่อนอินเดีย 
รากฐานศิลปะก่อนอินเดียคือวัฒนธรรมที่ใช้ภาษาสันสกฤต มีศิลปะที่เมืองหะรัปปา (Harappa) และโมเหนโช- ดาโร (Mohenjo-daro) ทางแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ เมื่อ 1,500 ปีก่อนพุทธศักราช นักโบราณคดีค้นพบซากเมืองที่ใช้ อิฐในการก่อสร้าง มีการวางผังเมืองและท่อระบายน้ำอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนั้นยังพบตราประทับ ประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็กเป็นรูปชายมีเครา 










ศิลปะสมัยอินเดียแท้ 



สมัยที่ 1 
ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ และแบบสมัยพระเจ้าอโศก มหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่ คือ สถูปรูปโอคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้ เนื่องจากภาพสลักนูน ต่ำหรือถ้ำที่ขุดเข้าไปในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้ เช่น ที่ถ้ำราชา เพทสา และการ์ลี สำหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ทำ เป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์ บัวหัวเสารูประฆังคว่ำได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วน ประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม ส่วนใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้ เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลักเป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ แต่ใช้สัญ ลักษณะแทน เช่น ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มีภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระ โพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า ปาฎิหาริย์ทั้ง 4 ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐม เทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณะแทนคือ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทน ปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน 







สมัยที่ 2 
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 10 มีอิทธิพลภายนอกที่มีต่อศิลปะอินเดียคือ ศิลปคันธารราฐ และศิลปะอินเดียเองคือ ศิลปะแบบมถุรา ทางเหนือและศิลปะแบบอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้ 

1. ศิลปะคันธารราฐ เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 มีรูปแบบ ศิลปะกรีกและโรมัน แต่เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศิลปะคันธารราฐ เป็นศิลปะยุคแรกประดิษฐพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์ แต่มีลักษณะคล้ายกรีกและโรมัน ดังนี้พระ พุทธเจ้าในปางต่าง ๆ จึงประดิษฐเป็นรูปลักษณ์ของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามยังพบประติมากรรม อื่นที่ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีกและโรมันอยู่มาก เช่น ประติมากรรมรูปชาวโกลกำลังตาย และท่อ ระบายน้ำที่สลักเป็นรูปสัตว์ พระพุทธรูปบนยอดเสาโครินเธียน เป็นต้น 


2. ศิลปะมถุรา ศิลปะมถุรารุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9 ประติมากรรมสลักด้วยศิลาทรายบางรูปได้รับอิทธิ พลจากศิลปกรีกและโรมัน แต่ก็มีรูปแบบพระพุทธรูปแบบอินเดียเป็นครั้งแรก 




3. ศิลปะอมราวดี เกิดขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-7 ศิลปะสมัย นี้มีลักษณะอ่อนไหวแต่เน้นลักษณะตามอุดมคติ พระพุทธรูปสมัยนี้มักทำห่มจีวรคลุมทั้งองค์ แต่ลักษณะพระ พักตร์ยังคล้ายแบบกรีกและโรมัน สถานที่สำคัญทีพบศิลปะแบบอมราวดี คือ เมือง อมราวดี





สมัยที่ 3 
1. ศิลปะตุปตะ และหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ อินเดีย พระพุทธรูปมีลักษณะแบบอินเดียแท้ แต่กลับพบประติมากรรมสลักนูนสูงมากกว่าประติมากรรมลอย ตัว ศิลปะที่เด่นในสมัยนี้คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตา ส่วนศิลปะหลังคุปตะอยู่ในช่วงประมาณพุทธ ศตวรรษที่ 11-13 สถาปัตยกรรมมีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สำคัญ คือ เอลลูรา และเอเลฟันตะ สมัยนี้ เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ 


สมัยที่ 4
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
14 เป็นต้นมาเป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือศิลปทมิฬ (Dravidian) แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย 




ศิลปะทมิฬหรือดราวิเดียน 


ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสำริดและรูปสลักจาก ไม้ ประติมากรรมสำริดที่รู้จักกันดีคือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ หลังคาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้นเช่น สถาปัตยกรรมที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อลิงคราชที่เมืองภูวเนศวร ศิลปะปาละ เสนะ ศิลปะทางพุทธศาสนาของอินเดียภาคเหนือภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปาละ-เสนะ ใน แคว้นเบงคอลและพิหารระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 พุทธศาสนาในสมัยปาละ คือ พุทศาสนาลัทธิตันตระซึ่ง กลายมาจากลัทธิมหายาน โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไปปะปนสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาลัทธิตันตระในแคว้นเบงคอล ส่วนประติมากรรมมี ทั้งภาพสลักจากศิลาและหล่อจากสำริดทั้งทางพุทธศาสนาและตามคติแบบฮินดู ประติมากรรมสลักจากศิลาในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3
  • ยุคคือ ยุคแรกพุทธศตวรรรษที่ 14-15 มีพระโพธิสัตว์และ พระพุทธรูปทรงเครื่อง
  • ยุคสองพุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิ ตันตระ
  • ยุคที่สามยุคราชวงศ์เสนะ พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาฮินดูจึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู ศิลปะแบบปาละ เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศเนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะ สุมาตราในอินโดนีเซีย พม่า และประเทศไทย








ศิลปะตะวันออก

ลักษณะของศิลปะที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะอย่างของรูปแบบ 
ศิลปะจะแสดงออกทางอิทธิพลทางภูมิอากาศ ขนบประเพณี รูปแบบของศิลปะตะวันออกจะเด่นชัดทางอิทธิพลทางศาสนา เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนประยุกต์ศิลป์ งานประณีตศิลป์และงานหัตถกรรม ซึ่งมีส่วนในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของชาวตะวันออกตามพื้นเพเดิมของการดำรงชีวิต การนับถือศาสนามีอิสระต่อกัน ประกอบด้วย ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิเต๋า และศาสนาคริสต์ เป็นต้น สภาพความเป็นอยู่จะเป็นไปตามลักษณะของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ลักษณะบ้านเรือน เครื่องแต่งกายและสิ่งของเครื่องใช้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ศิลปะจึงเป็นไปอีกแบบหนึ่ง ในประเทศตะวันออกนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเองมาแต่ยุคโบราณ และต่างก็สืบต่อลักษณะทางศิลปะกันลงมาไม่ขาดสาย ทำให้ศิลปะของชาวตะวันออกมีลักษณะรูปแบบตนเอง ศิลปะประจำชาติ เด่นชัด และไม่ถือเอาความเป็นจริงตามธรรมชาติเป็นสำคัญ จึงสร้างสรรค์ศิลปะให้บังเกิดความงามที่เหนือขึ้นไปจากธรรมชาติตามรสนิยมและความรู้สึกของตน

ศิลปะตะวันออกได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างฉลาดและแฝงไว้
ด้วยแนวคิดและรูปแบบอันสร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป 
เช่น การสร้างสถูปเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย
พระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 300 ก็มีสิ่งสำคัญอยู่ 3 ประการ
 คือ องค์สถูป บัลลังก์ ฉัตร ดังนั้น แม้ว่ามีการสร้างสรรค์ขึ้น
ในสมัยต่อมา ก็ยังรักษาแนวคิดเดิมไว้ แต่รูปแบบอาจแปร
เปลี่ยนไปบ้างตามแนวความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละยุคสมัยของ
แต่ละชาติ เพราะความคิดของคนแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เหมือนกัน 

ความเปลี่ยนแปลงนี้เองเรียกว่า วิวัฒนาการ ซึ่งเป็นไป
อย่างช้า ๆ แต่มั่นคงอยู่ในรากฐานดั้งเดิม

ศิลปะตะวันออกสามารถจำแนกแหล่งอิทธิพลได้เป็น 2 แหล่ง
ด้วยกัน คือ

1.       ประเทศที่อยู่ในสาย วัฒนธรรมอินเดียมี ไทย พม่า 

2.       ประเทศที่อยู่ในสายวัฒนธรรมจีน




ศิลปะจีน

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าจีนมีประวัติแห่งการพัฒนาประเทศเป็น 4  ยุค  คือ  ยุคแรกเป็นยุคหิน  ต่อมาคือยุคหยก ยุคทองแดง และยุคสุดท้ายคือยุคเหล็ก   สำหรับสมัยประวัติศาสตร์ของจีนมียุคสมัยของศิลปะที่สำคัญดังนี้
  1.  สมัยราชวงศ์ชาง  ( Shang  Dynasty )  ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ  เครื่องสำริด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสำริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม  ใหญ่โต  แข็งแรง  หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม  อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสำริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสำริดในเมโสโปเตเมีย  ทั้งๆทีรู้จักวิธีหล่อสำริดก่อนจีนเกือบพันปี  เครื่องสำริดของจีนทำขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง  ดีบุก  และตะกั่ว  ใช้ทำเป็นภาชนะใส่อาหาร  เหล้า  และน้ำ  ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  เสียม  ขวาน  มีด  เป็นต้น  ลวดลายที่ปรากฏบนสำริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก  มีทั้งลายนูน  และลายฝังลึกในเนื้อสำริด  เช่น  ลายเรขาคณิต  ลายสายฟ้า  ลายก้อนเมฆ  และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายหน้ากากรูปสัตว์ที่เรียกว่า เถาเทียะ ”  เห็นจมูก  เขา  และตาถลนอย่างชัดเจน  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นในศิลปะจีนในสมัยต่อๆ มาอยู่เสมอ





นอกจากสำริดแล้ว  เครื่องหยกประเภทต่างๆ  ก็แสดงเห็นฝีมือทางศิลปะอันสูงส่งของสมัยราชวงศ์ชาง  หยกเป็นวัตถุที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ  มากที่สุด  โดยช่างในสมัยราชวงศ์ชางมีเทคนิคในการเจียระไนและแกะสลักหยกให้เป็นรูปและลวดลายต่างๆ กัน  เช่น  เป็นใบมีด   เป็นแท่ง  เป็นแผ่นแบนๆ  หัวลูกศร  จี้  หรือรูปสัตว์ต่างๆ  สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากคือ  สัญลักษณ์ของสวรรค์  โลกและทิศสี่ทิศ  นอกจากเครื่องหยกแล้วยังพบผลงานแกะสลักอื่นๆอีก  เช่น  งาช้าง  เครื่องปั้นดินเผา  หินอ่อน  โดยแกะสลักเป็นรูปหัววัว  เสือ  ควาย  นก  และเต่า  เป็นต้น            
                  2.  สมัยราชวงศ์โจว  ( Chou  Dynasty )  ความก้าวหน้าทางศิลปะของราชวงศ์ชาง  ได้สืบทอดต่อมาในสมัยราชวงศ์โจว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการหล่อสำริด ความเป็นตัวของตัวเองของราชวงศ์โจวก็เริ่มปรากฏชัดขึ้น  เช่น  มีการเน้นลวดลายประดับประดามากขึ้นและไม่เด่นนูนเหมือนสมัยราชวงศ์ชาง  มีความซับซ้อนมากขึ้น  เช่น  ลวดลายสัตว์เป็นรูปมังกรหลายตัวซ้อนกันและเกี้ยวกระหวัดไปมา  ลวดลายละเอียดอ่อนช้อยมาก  ในด้านการแกะสลักเครื่องหยกฝีมือช่างสมัยราชวงศ์โจวจะยอดเยี่ยมกว่าสมัยราชวงศ์ชางมาก  สามารถแกะสลักได้สลับซับซ้อน  ในสมัยราชวงศ์โจวยังพบว่ามีการพัฒนาในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา  ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบจีน  เพราะรู้จักกรรมวิธีในการเคลือบน้ำยา
เบื้องต้นและรู้จักเผาไฟด้วยอุณหภูมิสูง






3.  สมัยราชวงศ์จิ๋น   ( Chin  Dynasty )   ในสมัยนี้มีสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านความมโหฬาร  คือ  กำแพงเมืองจีน  ( The  Great  Wall )  ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น  กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ   6,700 10,000  กิโลเมตร




นอกจากนี้ก็ยังพบประติมากรรมดินเผาเป็นรูปทหารเท่าคนจริงฝังอยู่ในสุสานพระจักรพรรดิองศ์หนึ่งแห่งราชวงศ์จิ๋น  คือ  จักรพรรดิฉิน  สื่อ  หวง  ตี่  ซึ่งพระองศ์ได้สร้างไว้ล่วงหน้าก่อนสวรรคต  30  ปี   การขุดค้นได้กระทำไปแล้วบางส่วนในพื้นที่ประมาณ  12,600  ตารางเมตร   และพบประติมากรรมดินเผารูปทหารและม้าศึกจำนวนมากประมาณ  6,000  รูป   รูปทรงของประติมากรรมมีขนาดใกล้เคียงกับคนจริงมาก  คือมีความสูงประมาณ  6  ฟุต  ปั้นด้วยดินเหนียวสีเทา  จากนั้นก็นำไปเผาไฟเช่นเดียวกับการกรรมวิธีการสร้างเครื่องปั้นดินเผาทั่วไป







4.  สมัยราชวงศ์ฮั่น  ( Han  Dynasty )  ความเป็นปึกแผ่นของประเทศได้ส่งผลสะท้อนมายังศิลปกรรมให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่วางไว้ดีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชางเรื่อยมา   ต่างได้รับการพัฒนาเต็มที่สมัยราชวงศ์ฮั่น  และประติมากรรมเต็มรูปหรือแบบลอยตัวก็เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้  มีการพัฒนาทางด้านการออกแบบ  กรรมวิธีการสร้างและมโนภาพในงานสถาปัตยกรรม  จิตรกรรมเขียนตัวอักษร ประติมากรรมหรืองานศิลปหัตถกรรมทั่วไป ในส่วนของประติมากรรมมีการนำหินมาสลักให้เป็นทั้งรูปลอยตัวและรูปแบน   มีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายตามความเชื่อในลัทธิเต๋า   ประติมากรรมรูปแบน  มักเป็นแผ่นใช้การขีด  วาด  จารึกเป็นลายเส้นหรือไมก็ฉลุเป็นรูปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคิดประดิษฐ์กระดาษใช้แทนผ้าไหมและแผ่นหิน  ศิลปะประยุคในสมัยนี้จะบรรลุถึงความงามชั้นสูงสุด  โดยเฉพาะช่างทองรูปพรรณขึ้นชื่อในด้านความประณีต   งดงาม   ซึ่งมีการประดิษฐ์และออกแบบลวดลายพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมาก




5.  สมัยราชวงศ์จิ้น  ( Jin  of  Tsin  Dynasty )  พระพุทธศาสนาได้นำความเชื่อใหม่มาสู่จีน  และได้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมที่ทำมาเป็นประเพณีแต่เดิม ที่เคยมีความนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าเป็นหลักสำคัญ  ให้พัฒนาไปสู่รูปแบบพุทธศิลป์แบบใหม่ๆ  เช่น  การสร้างรูปเคารพ  ศาสนสถาน  เป็นต้น   โดยเฉพะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติจากอินเดียได้เข้ามามีส่วนสร้างงานด้วย  ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะแรกพุทธศิลป์คงมีรูปลักษณะแบบอินเดีย   แต่ต่อมารูปแบบกรรมวิธีและเนื้อหาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม  และสอดคล้องกับการแสดงออกของศิลปะจีนเอง  เช่น ที่ถ้ำตุนหวง  ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้  ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจีน  มีลักษณะเป็นภาพทิวทัศน์ประกอบพุทธประวัติ  และเป็นตัวอย่างอันดีของการผสมผสานเทคนิคจิตรกรรมแบบเปอร์เซีย  อินเดีย  และจีนเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว







6. สมัยราชวงศ์ถัง   ( Tang  Dynasty)   สมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุกประเภท   โดยเฉพาะเครื่องเคลือบ   ฝีมือของช่างในการผลิตเครื่องเคลือบมีคุณภาพสูงกว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆทั่วโลก   เครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ  เครื่องเคลือบสามสี ”  ( Thee -  colour wares )  มีลักษณะแข็งแรงและสง่างามจึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ถัง  ลักษณะเนื้อดินละเอียด  ขาวหม่น  ในการเคลือบน้ำยานั้น  จะเว้นที่ส่วนล่างของฐานไว้เล็กน้อย  เพื่อแสดงฝีมือการปั้นของช่าง  ทั้งนี้  ลวดลายที่ปรากฏ  บางส่วนแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเปอร์เซียด้วย